1. ความริเริ่ม ชาวเราผู้ใช้นามสกุล วิจิตร
ซึ่งได้แก่ระดับชั้นผู้ใหญ่ พี่ๆ น้องๆ ด้วยกัน
มีพี่บุญนาค, พี่ชาญ (แป๊ะ), พี่ไว้
และตัวผู้รวบรวมเอง ได้ปรารภกันว่า
เมื่อเวลาพวกเราไปในงานทำบุญวันคล้ายวันเกิดก็ดี
หรืองานมงคลต่างๆ ของบุคคลอื่นๆ ก็ดี
มักจะได้รับหนังสือประวัติชีวิตของบุคคลที่เกี่ยวข้องและติดต่อสัมพันธ์กันต่อๆ มา อาทิ เช่น นางเผื่อน สายสุวรรณ
และกำนันผ่องสวัสดิ์ สายสุวรรณ เป็นต้น ทั้งๆ
ที่เป็นญาติทางฝ่ายคุณป้าของพวกเราเอง
แต่สำหรับผู้ใช้นามสกุล วิจิตร
ของพวกเรากลับยังไม่มีประวัติเลย ทั้งๆ
ที่เวลานี้ ลูก หลาน เหลน ได้สืบสายสัมพันธ์กันมากมาย
จนแทบจะไม่ทราบว่ามาจากทางสายสัมพันธ์ด้านใด
เป็นบุตรธิดาของใครอยู่แล้ว
จึงพร้อมใจกันรวบรวมค้นคว้าหลักฐานและสอบถามจากท่านผู้รู้เรื่องเดิมมาแต่ต้นเท่าที่จะทำได้
แล้วรวบรวมจัดพิมพ์เป็นเล่มไว้ในขั้นหนึ่งนี้ก่อน
ถ้าไม่เริ่มเสียแต่บัดนี้ก็จะยิ่งไม่มีผู้ใดทราบเบื้องต้นมาเลย
ส่วนต่อไปชั้น หลาน เหลน
เมื่อได้ทราบชั้นผู้ใหญ่เหล่านี้แล้ว
ก็จะได้จัดทำประวัติต่อๆ ไปได้ถูกต้องแน่นอน
2. การดำเนินการ
เมื่อปรึกษาตกลงกันแล้ว ก็ได้เริ่มค้นคว้าหลักฐานต่างๆ เท่าที่ได้จดช่วยความจำไว้บ้าง
สอบถามจากท่านผู้ใหญ่ที่ทราบเรื่องบ้าง
และเอกสารที่ค้นได้ พอสรุปได้มาจากต่างๆ กันดังนี้.-
2.1 ได้จากเอกสาร ที่สามารถค้นได้มี
2.1.1
หนังสือชีวประวัติและเรื่องของผู้หญิง อนุสรณ์
ฉลองอายุครบ 90 ปี ของอุบาสิกา เผื่อน สายสุวรรณ
เรียบเรียงโดย นายผ่องสวัสดิ์ สายสุวรรณ
กำนันตำบลหนองตำลึง เมื่อ 27 สิงหาคม 2510
2.1.2 หนังสืออนุสรณ์รำลึก คุณแม่เผื่อน
สายสุวรรณ อายุ 92 ปี (งานประชุมเพลิงศพ 4 พฤษภาคม
2512) เรียบเรียงโดย นายผ่องสวัสดิ์ สายสุวรรณ
2.1.3 หนังสืออุทานธรรม
พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นายปลั่ง นางเรียม หังสสูต
เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2511
2.1.4 หนังสือประวัติตระกูลวิจิตร
เนื่องในวันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ณ
วัดพานทอง เมื่อ 13 เมษายน 2523 เรียบเรียงโดย นาย
สมศักดิ์ วิจิตร
2.1.5 เอกสารช่วยความจำที่ พ.อ.อุทัย
วิจิตร จดไว้เมื่อได้สอบถามจากผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว
อาทิเช่น นางเผื่อน สายสุวรรณ, น้าลิ้ม
บ้านเนินตาลเด่น, ป้าสุ่น บ้านพนัสนิคม,
กำนันผ่องสวัสดิ์ สายสุวรรณ, น้าเที่ยง, หลวงน้าปี ฯลฯ
เป็นต้น
2.2
ได้จากการสอบถามผู้ใหญ่ทีทราบเรื่องดี ได้แก่
2.2.1 ผู้ใหญ่บ้านโชติ วิจิตร (ก่อนถึงแก่กรรม)
2.2.2 นาย บุญนาค วิจิตร
2.2.3 นาย เปล่ง วิจิตร (ก่อนถึงแก่กรรม)และนางบุญ
วิจิตร
2.2.4 นาย ชาญ(แป๊ะ) วิจิตร
2.2.5 นาง จี่ (หนู) สุขเกษม และ
นาง หวั้น สยามประเสริฐ
2.2.6 น.ท.ไว้ วิจิตร ร.น.
2.2.7 นาง เพียง แซ่จู,นางผาด ธรรมชาติ,นายเปีย
ศรีมงคล
3. การจัดพิมพ์รูปเล่ม
เมื่อได้รับเรื่องราวจากเอกสารและทราบจากบุคคลตามข้อ 2
แล้ว จึงเริ่มรวบรวมให้เป็นตามยุคสมัยของประวัติศาสตร์
โดยพิจารณาเรื่องราวต่างๆ
ให้ตรงตามปีพุทธศักราชต่อเนื่องกันมา
ให้สมกับความเป็นจริงทุกระยะเวลาของเหตุการณ์นั้น
เกิดขึ้น ตลอดจนลูกหลาน เหลนสายสัมพันธ์
ให้ตรงตามสายของผู้นั้นทุกคน
แล้วได้ค้นคว้าหารูปภาพ
ผู้ใหญ่
ตุ๋ย วิจิตร
ผู้เป็นต้นตระกูลวิจิตรขนาดเล็ก
เพื่อเป็นอนุสรณ์ไว้ให้ทุกคนเห็นรูปร่างหน้าตาของท่านไว้และพร้อมกับได้จัดทำตราตระกูลวิจิตรไว้หน้าหนังสือ
ซึ่งมีความหมายว่า ตระกูลวิจิตร กำเนิดขึ้น ณ
ตำบลและอำเภอพานทอง ซึ่งต้องมีลูกหลาน เหลน โหลน
แผ่กระจายไปอีกมากมายดังรัศมีอย่างใหญ่หลวงต่อไป"
4. ข้อสรุป
ถึงแม้จะพยายามค้นคว้าทั้งเอกสารและจากผู้ใหญ่ที่ทราบเรืองดีทุกด้าน
ทุกทาง และทุกคนแล้วก็ดี
หนังสือประวัติตระกูลวิจิตรเล่มนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็น
ซึ่งจะต้องมีข้อบกพร่องและตกหล่นดังที่ได้หมายเหตุหรือแจ้งไว้แล้ว
เมื่อผู้ใดพบข้อบกพร่องดังกล่าว
และรวบรวมได้อีกก็ขอได้กรุณาแจ้งไปที่ พ.อ. อุทัย
วิจิตร เลขที่ ...... ซอยลาดพร้าว 23 ถนนลาดพร้าว
แขวงลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10900 ด้วย
เพื่อรวบรวมเพิ่มเติมในการพิมพ์ใหม่ครั้งต่อไป
ในโอกาสที่มีการรวบรวมและจัดพิมพ์ประวัติของ
ตระกูลวิจิตร
ครั้งนี้ นับระยะเวลาตั้งแต่ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า
"วิจิตร"
เมื่อ พ.ศ.2455 เป็นต้นมาถึงบัดนี้รวมได้ 72 ปี แล้ว
และประกอบด้วยเป็นปีที่ถึงแก่อนิจกรรม
ซึ่งจะทำบุญกุศลให้ใน 16 เมษายน 2526 นี้ด้วย
ดังนั้นด้วยความอุตสาหะวิริยะ
อันทำให้งานพิมพ์ประวัติตระกูลครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
จงดลบันดาลให้ผู้ใหญ่ตุ๋ย วิจิตร ผู้เป็นต้นตระกูล
วิจิตร
ได้รับส่วนความสำเร็จ
และผลบุญกุศลที่อุทิศในโอกาสนี้
นำทางไปสู่สุขคติแห่งสัมปรายภพโน้นเถิด.
(ลงชื่อ)
พ.อ. อุทัย วิจิตร
(พันเอก อุทัย วิจิตร )
บ้านวิจิตร - ผู้รวบรวม
19 กุมภาพันธ์ 2526
|