ตอนที่ 2 ตระกูล
วิจิตร
1.
ต้นตระกูล วิจิตร
1.1
เบื้องต้นกำเนิดของผู้เป็นต้นตระกูล วิจิตร
สรุปจากตอนที่แล้ว
1.1.1
พระยาสุนทรจีน (เจ้าคุณเจ๊ก)
เจ้าของไร่พริกไทย เป็นจำนวนหลายพันไร่ในมณฑลจันทบูรณ์
ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เจ้าสัวใหญ่
(เศรษฐีใหญ่) ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านบางกะจะ
อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันนี้
ได้แต่งงานกับอำแดงสมเทศ ชาวจันทบูรณ์ด้วยกัน
แล้วมีบุตรชายคนหนึ่งเมื่อ พ.ศ.2378 ชื่อว่าเดช
1.1.2 เด็กชายเดช
ได้ถูกส่งไปศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและขนบธรรมเนียมต่างๆ
กับ ครู, อาจารย์ทั้งทางวัดและเจ้านายในมณฑลจันทบูรณ์
จนมีวิชาความรู้หลายอย่าง และเชี่ยวชาญในการแต่งโครง
กลอน กาพย์ กลอนมาก
บิดาจึงไปฝากเข้ารับราชการกับนายหลวงวิเศษของมณฑลจันทบูรณ์
เป็นเสมียนรับใช้ราชการต่อไป จนได้ถูกเรียกขนานนามว่า
เสมียนเดช ตลอดมา
1.1.3
เสมียนเดช
ได้แต่งงานกับอำแดงอิ่มชาวบ้านญวนซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบูรณ์เมื่อปี
พ.ศ.2403 แล้วมีบุตรธิดารวม 5 คน เป็นหญิงตาม ลำดับ 1,
2, 3, 4
ซึ่งแยกและสืบสกุลไว้ตามลำดับแต่ละคนในตอนต้นกำเนิดของตระกูล
(ตอนที่ 1 ) ข้างต้นแล้ว ส่วนคนที่ 5
คนสุดท้ายเป็นชายคนเดียวชื่อ ตุ๋ย
1.1.4 เด็กชาย ตุ๋ย
เป็นบุตรคนที่ 5 (คนสุดท้าย) ของเสมียนเดช
กับอำแดงอิ่ม ซึ่งเป็นต้นตระกูล วิจิตร
จะได้กล่าวต่อไป
1.2
ชีวิตตอนเยาว์วัยกลางคนของผู้เป็นต้นตระกูล วิจิตร
1.2.1 นายตุ๋ย
เป็นบุตรคนสุดท้ายของเสมียนเดชกับอำแดงอิ่ม
เกิดเมื่อปี พ.ศ.2411 ที่บ้านกะจะ
อำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี
ตอนเยาว์วัยได้อพยพตามบิดาซึ่งย้ายมารับราชการที่เมืองบางปลาสร้อย
ชลบุรี โดยอยู่ ณ บ้านค่ายซอยกลป้อมค่าย (ในปัจจุบัน)
นี้ เมื่อปี พ.ศ.2416 ขณะนั้น นายตุ๋ย อายุได้เพียง 5
ขวบเท่านั้น
ซึ่งที่อยู่นี้เป็นบ้านพักนายหลวงวิเศษเจ้านายของเสมียนเดชนั้นเอง
1.2.2 เนื่องจาก นายตุ๋ย
เป็นบุตรของเสมียนเดชและอยู่กับผู้บังคับบัญชาของบิดาคือนายหลวงวิเศษ
ซึ่งต่อมาท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นจนถึงพระยาศรีมหาเกษตร
ดำรงตำแหน่งข้าหลวงปกครองเมืองชลบุรี
(ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีขณะนี้)
และพระยาศรีมหาเกษตร มีภรรยาชื่อ คุณนายเอี่ยม ตุลยานนท์
ท่านทั้งสองได้เลี้ยงดู นายตุ๋ย
เสมือนบุตรของท่านตั้งแต่ 5 ขวบ เป็นต้นมา
และได้เล่าเรียนหนังสือไทยตามวัดต่างๆ บ้าง
และเข้าเรียนตามสถานศึกษาบ้างจนมีความรู้จบชั้นเรียนที่มีอยู่ในขณะนั้น
และสามารถทำหน้าที่เสมียนเช่นเดียวกับบิดา (เสมียนเดช)
ได้เหมือนกัน
1.2.3
พระยาศรีมหาเกษตร
ได้ปกครองเมืองชลบุรีอยู่เป็นเวลานานมาก
และคุณนายเอี่ยม ตุลยานนท์
ภรรยาของท่านได้ลงทุนซื้อที่ดินในเมืองชลบุรีไว้จำนวนมาก
เพื่อหาผลประโยชน์ด้วยการเช่าทำนาทำไร่
คิดค่าเช่าเป็นเงินหรือเป็นข้าวเปลือก
ตลอดจนรับจำนำจำนองที่ดินต่างๆ
งานเหล่านี้ท่านทั้งสองได้มอบความไว้วางใจให้นายตุ๋ยเป็น
นายกองนา ของท่าน
ทำหน้าที่รับใช้ดูแลดำเนินการผลประโยชน์เกี่ยวกับที่ดินทั้งสิ้น
และที่ดินส่วนหนี่งที่อยู่บริเวณท้องทุ่งจำเป็นต้องเดินทางไปควบคุมดูแลและเก็บผลประโยชน์ทาง
พานทอง อยู่เสมอๆ ด้วย ดังนั้น นายตุ๋ย
จึงทำงานรับใช้เป็นนายกองนาของพระยาศรีมหาเกษตรตลอดมา
1.2.4 ประมาณต้นปี
พ.ศ.2440 เสมียนเดชบิดาของนายตุ๋ยได้ถึงแก่กรรมที่ชลบุรี
(บ้านในค่ายซอยกลป้อมค่ายขณะนี้)
พระยาศรีมหาเกษตรและคุณนายเอี่ยม ตุลยานนท์
ได้ช่วยทำศพ เสมียนเดช บิดานายตุ๋ยให้อย่างสมเกียรติ
ในตอนนั้นปรากฏว่าพวกพี่สาวของนายตุ๋ยทั้งสี่คน
อำแดงจอน, อำแดงทองอยู่, อำแดงขอม และอำแดงปาน
ได้แต่งงานไปหมดแล้ว ดังตอนต้นที่กล่าวมา
1.2.5
เนื่องด้วยการเป็นนายกองนาของนายตุ๋ยให้แก่พระยาศรีมหาเกษตรและคุณนายเอี่ยม
ตุลยานนท์
ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีและทำผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอตลอดมา
พระยาศรีมหาเกษตรและคุณนายเอี่ยม ตุลยานนท์
เห็นความดีอันนี้จึงได้ยกที่ดินท้องทุ่งนาอำเภอพานทองบริเวณ
บ้านเนินตาลเด่น ซึ่งเป็นของท่านทั้งสอง ให้แก่นายตุ๋ยเป็นจำนวนประมาณ
80 ไร่ เพื่อให้ไว้รอเป็นทีทำกินต่อไป
1.2.6
เมื่อเสมียนเดชได้ถึงแก่กรรมแล้ว
และประกอบด้วยกับพระยาศรีมหาเกษตรและคุณนายเอี่ยม ตุลยานนท์
ก็ได้ยกที่ดินบริเวณบ้านเนินตาลเด่น อำเภอพานทมอง
ให้เป็นจำนวน 80 ไร่ แล้วด้วย ดังนั้นประมาณปลายปี
พ.ศ.2440 นายตุ๋ยจึงขออนุญาตจากพระยาศรีมหาเกษตรและคุณนายเอี่ยม
ตุลยานนท์ ก็ยินยอมให้ไปได้
แต่ก็ยังคงเป็นนายกองนาดูแลที่ดินในบริเวณฯอำเภอพานทองให้ท่านอยู่จนท่านขายหรือยกให้แก่ผู้อื่นไปจนหมด
จึงได้พ้นหน้าที่นายกองนาของท่านไปโดยปริยาย
1.3
ชีวิตตอนตั้งหลักฐานของผู้เป็นต้นตระกูล วิจิตร
1.3.1 ประมาณปลายปี
พ.ศ.2440 นายตุ๋ยได้อพยพจากบ้านในค่ายซอยกลป้อมค่าย
เมืองชลบุรี มายังบริเวณท้องทุ่งนาบ้านเนินตาลเด่น
อำเภอพานทอง
ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินพระยามหาศรีเกษตรและคุณนายเอี่ยม
ตุลยานนท์ ยกให้จำนวน 80 ไร่
แล้วก็เริ่มลงมือทำนาปลูกข้าวเลี้ยงต้นและครอบครัวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
และได้สะสมเงินทองที่ทำนาได้ซื้อที่นาใกล้เคียงเพิ่มอีกร้อยไร่ด้วย
1.3.2
ต่อมาทางราชการได้จัดการปกครองประเทศแบ่งเป็นหมู่บ้าน
ตำบล อำเภอขึ้น
สำหรับบ้านเนินตาลเด่นได้ถูกกำหนดให้เป็นหมู่บ้านที่ 1
ขึ้นกับตำบลพานทอง อำเภอพานทอง เมืองชลบุรี
เนื่องจากนายตุ๋ยเป็นผู้มีความรู้เพราะได้ศึกษาเล่าเรียนมา
ทางนายอำเภอขณะนั้นคือหลวงวนเขต จึงได้คัดเลือกให้นายตุ๋ยเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่
1 ในปี พ.ศ.2450 เป็นต้นมา จนชาวบ้านเรียกนามว่า ผู้ใหญ่ตุ๋ย
เรื่อยมา
1.4
การได้รับพระราชทานนามสกุล วิจิตร
1.4.1
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชการที่ 6) พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแทนสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
(รัชการที่ 5) ซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2453
เป็นต้นมา
พระองค์ท่านได้ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นในปี
พ.ศ.2454
เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ทุกผู้มีนามสกุลด้วยกัน
เพื่อความสะดวกต่อการเรียกตัวและและสืบสายสัมพันธ์กันต่อๆ
มา
1.4.2
ดังนั้นนายอำเภอพานทอง หลวงนวเขต
จึงแจ้งประกาศแก่ราษฎรภายในอำเภอทุกคนทราบถึงพระราชบัญญัตินามสกุลที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้
ผู้ใหญ่ตุ๋ย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1
บ้านเนินตาลเด่น ตำบลพานทอง
จึงได้รับพระราชทานนามสกุลว่า วิจิตร เมื่อปี
พ.ศ.2455 เป็นต้นมา นั้นคือ นายตุ๋ย
วิจิตร เป็นต้นตระกูล วิจิตร
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
1.5
ชีวิตแต่งงานของผู้เป็นต้นตระกูล วิจิตร
1.5.1
เมื่อผู้ใหญ่บ้านตุ๋ย วิจิตร
อพยพมาตั้งหลักฐานสร้างตัวประกอบอาชีพทำนาที่บ้านเนินตาลเด่น
หมู่ที่ 1 ตำบลพานทอง อ.พานทอง
จังหวัดชลบุรีเมื่อปลายปี พ.ศ.2440
ได้ตั้งหน้าตั้งทำนาปลูกข้าวด้วยความขยันหมั่นเพียงในเนื้อที่ดินของตนเองและซื้อเพิ่มเติมภายหลักอีกด้วย
เป็นการทำมาหากินจนมั่งคั่งสมบูรณ์และตั้งตัวได้โดยมีครอบครัวซึ่งภรรยาและลูกหลานช่วยกันทั้งหมด
1.5.2 ผู้ใหญ่ตุ๋ย
วิจิตร ได้แต่งงานกับ อำแดงนิ่ม
เป็นภรรยาคนที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2440 (อำแดงนิ่ม เกิด
พ.ศ.2407 และถึงแก่กรรม พ.ศ.2487) มีบุตรธิดา 4 คน คือ
1.5.2.1 นาย หมา
วิจิตร เกิดปี 2441
1.5.2.2 น.ส. ทองคำ
วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2443 และถึงแก่กรรมตอนเยาว์วัย
1.5.2.3 นาย สว่าง
วิจิตร เกิด พ.ศ. 2445 และถึงแก่กรรมตอนเยาว์วัย
1.5.2.4 นาย บุญนาค
วิจิตร เกิด พ.ศ.2447 ( 2 กรกฎาคม 2447)
1.5.3 ผู้ใหญ่ตุ๋ยได้แต่งงานกับ
อำแดงวัน
(เป็นภรรยาคนที่ 2) เมื่อปี พ.ศ.2445 (อำแดงวันเกิดปี
2416 และถึงแก่กรรมปี พ.ศ.2461) มีบุตรธิดา 6 คนคือ
1.5.3.1 นาง แปลก
(ลูกติดอำแดงวันกับสามีคนก่อน) เกิด พ.ศ.2443
1.5.3.2 น.ส. เหรียญ
วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2446 และถึงแก่กรรมตอนเยาว์วัย
1.5.3.3 นาย โชติ
วิจิตร (เป็นผู้ใหญ่บ้านแทนผู้ใหญ่ตุ๋ย วิจิตร ต่อมา)
เกิดปี พ.ศ.2447
1.5.3.4 นาย เปล่ง
วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2451
1.5.3.5 นาย แดง
วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2454 และถึงแก่กรรมตอนเยาว์วัย
1.5.3.6 นาย ชาญ
(แป๊ะ) วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2459
1.5.4 ผู้ใหญ่ตุ๋ยได้แต่งงานกับ
อำแปดงยอด
(เป็นภรรยาคนที่ 3) เมื่อปี พ.ศ.2453 (อำแดงยอดเกิดปี
พ.ศ.2429 และถึงแก่กรรมปี พ.ศ.2469) มีบุตรธิดา 7
คนคือ
1.5.4.1 นาง จี่ (หนู)
วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2453
1.5.4.2 นาง หวัน
(แตงอ่อน) วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2455
1.5.4.3 นาง หวั้น
วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2457
1.5.4.4 น.ท. ไว้
วิจิตร ร.น. เกิดเมื่อ ปี พ.ศ.2459
1.5.4.5 น.ส. แจ๋ว
วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2461 และถึงแก่กรรมตอนอายุได้ 7 ขวบ
1.5.4.6 นาง ไข่
วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2463
1.5.4.7 พ.อ. อุทัย
วิจิตร เกิดปี พ.ศ.2466 ( 19 กุมภาพันธ์ 2466)
1.6
ชีวิตตอนปลายของผู้เป็นต้นตระกูล วิจิตร ผู้ใหญ่ตุ๋ย
ได้ใช้ชีวิตเป็นชาวนากระดูกสันหลังของชาติไทยในพื้นที่บ้านเนินตาลเด่น
หมู่ที่ 1 ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
เรื่อยมาจนถึงวัยชรา ซึ่งก็ยังมีกำลังวังชาแข็งแรง
โดยทำด้วยตนเองเสมอมาจนอายุอย่างเข้า 73 ปี
แล้วได้ล้มป่วยเป็นโรคชรา
แล้วได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.2485
(ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2)
|