คำปรารภของผู้รวบรวม

ต้นกำเนิดของตระกูล

ตระกูล “วิจิตร”

สายสัมพันธ์ตระกูล “วิจิตร”

ประวัติตระกูลภรรยาผู้ใหญ่ตุ๋ย วิจิตร

ผู้ขอใช้นามสกุล "วิจิตร" ร่วมตระกูล

งานบำเพ็ญกุศลตระกูลประจำปี

วัดพานทอง

 

 

Blog counter
 
 

ต้นกำเนิดของตระกูล

1. ผู้ให้กำเนิด (พระยาสุนทรจีน)

1.1 พื้นฐานเบื้องต้น ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) พระมหากษัติย์แห่งราชวงศ์จักรีปกครองประเทศไทย (ยุคกรุงรัตนโกสินทร์) ประมาณปลายปี พ.ศ.2367 พื้นแผ่นดินของประเทศไทยได้รับผู้อพยพครอบครัวมาโดยทางน้ำ ด้วยเรือสำเภาจากประเทศจีน เพื่อพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัติย์ไทยในขณะนั้นมากมายด้วยกัน
มีครอบครัวหนึ่งได้มาขึ้นบกที่มณฑลจันทบูรณ์ (จังหวัดจันทบุรีขณะนี้) ทางด้านตะวันออกแถบชายทะเลของไทย หัวหน้าครอบครัวนี้ได้ทำมาหากินเริ่มแรกด้วยการับจ้างหาบมูลหมู (ขี้หมู) ขายให้แก่ชาวไร่เพื่อทำเป็นปุ๋ยพริกไทย ซึ่งชาวบ้านละแวกนั้น (คือบ้านบางกะจะ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันบุรี ขณะนี้) เรียกผู้นี้ว่า “อาแจ๊ก”

อาแจ๊กได้รับจ้างหาบมูลหมูขายจนตั้งตัวได้แล้วได้รวบรวมเงินทองจัดซื้อที่ดินเป็นของตัวเองเพื่อทำการปลูกพริกไทยขึ้นเป็นจำนวนหลายพันไร่และได้ทำการค่าขายพริกไทยจนร่ำรวยเป็นเศรษฐี ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าสัวพริกไทย” แห่งมณฑลจันทบูรณ์

1.2 การได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ครั้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5)ซึ่งชาวไทยเรียกว่า “สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง”ไ ได้เสด็จประพาสมณฑลจันทบูรณ์(จันทบุรีขณะนี้) ได้ทราบเรื่องเจ้าสัวไร่พริกไทยแห่งมณฑลจันทบูรณ์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าสัวเข้าเฝ้าแล้วรับสั่งถามว่า “เมื่อมาอยู่เมืองไทยทำอะไรกินจึงร่ำรวยเป็นเจ้าสัว” เจ้าสัวเจ๊กได้กราบบังคมทูลว่า “มาครั้งแรกก็มารับจ้างหาบมูลหมูขายทำปุ๋ยไร่พริกไทย ไม้คานอันไหนหาบจนคอดแล้วก็เก็บปิดทองบูชาไว้เพื่อให้ลูกหลานไว้ดูแล้วมามีไร่พริกไทยและที่ดินเป็นของตัวเองทำมาจนร่ำรวย

สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงทราบและชอบพระราชหฤทัยมาก จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เจ้าสัวไร่พริกไทยเป็น “พระยาสุนทรจีน” อยู่ในมณฑลจันทบูรณ์ตลอดมา ซึ่งชาวบ้านได้เรียกพระยาสุนทรจีนว่า “เจ้าคุณเจ๊ก” เสมอมา

1.3 ผู้สืบทอดสกุล พระยาสุนทรจีน”เจ้าคุณเจ๊ก” ได้แต่งงานกับอำแดงสมเทศ ชาวจันทบูรณ์และมีบุตรชายคนหนึ่งตั้งชื่อว่า เดช เมื่อเติบโตแล้วให้เล่าเรียนหนังสือไทยและขนบธรรมเนียบ ต่างๆ จนเป็นคนมีวิชาความรู้หลายอย่าง เชี่ยวชาญในทางแต่งโครงกลอน พระยาสุนทรจีน จึงนำบุตรชาย เดช ไปฝากเข้ารับราชการเป็นเสมียนกับหลวงวิเศาแห่งมณฑลจันทรบูรณ์ จนชาวบ้านได้เรียกบุตรชายของพระยาสุนทรจีนนี้ว่า “เสมียนเดช” เป็นผู้สืบสกุลต่อไป

2. ผู้สืบทอดสกุลจากผู้ให้กำเนิด (เสมียนเดช)

2.1 การเกิด นายเดชเป็นบุตรชายคนเดียวของพระยาสุนทรจีน (เจ้าคุณเจ๊ก) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2378 ที่บ้านบางกะจะ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีขณะนี้

2.2 การศึกษา นายเดชเมื่อเติบโตขึ้น พระยาสุนทรจีน (เจ้าคุณเจ๊ก) บิดาส่งตัวไปศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและขนบธรรมเนียมต่างๆ จากครู, อาจารย์ในมณฑลจันทบูรณ์ จนเป็นผู้มีวิชาความรู้หลายอย่าง เช่นอ่านและเขียนภาษาไทยได้อย่างสวยงามและเรียบร้อย, ชำนาญในการแต่งโคลง กาพย์ กลอน ได้เป็นอย่างดียิ่ง

2.3 การมีอาชีพ เมื่อนายเดชได้ศึกษาเล่าเรียนจนมีความรู้พอสมควรแล้ว พระยาสุนทรจีน (เจ้าคุณเจ๊ก) ได้นำตัวไปฝากเข้ารับราชการเป็นเสมียนไว้กับนายหลวงวิเศษ ซึ่งเป็นเจ้านายอยู่ในมณฑลจันทบูรณ์ขณะนั้น และได้รับราชการเป็นเสมียนตลอดมา จนได้นามว่า “เสมียนเดช” นอกจากรับราชการเป็นเสมียนแล้ว ยังเป็นทนายสำหรับผูกคำกลอนให้จำเลยแก้ข้อกล่าวหากับศาล (ตุลาการ) เป็นนักแต่งโคลง กาพย์ กลอน ซึ่งนับว่าเป็นนักกวีที่ได้รับการยกย่องมากคนหนึ่ง และต่อมาได้เป็นนายกองสักเลขหลวง (สมัยจตุสดมภ์) รับราชการในมณฑลจันทบูรณ์ เรื่อยมา

2.4 การมีครอบครัว เสมียนเดชได้แต่งงานกับอำแดงอิ่ม ซึ่งเป็นชาวบ้านญวน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.2403 แล้วได้มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คนตามลำดับดังนี้.-

1. อำแดงจอน เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2403 ที่เมื่อจันทรบุรี

2. อำแดงทองอยู่ เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.2405 ที่เมืองจันทรบุรี

3. อำแดงขอม เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2407 ที่เมือง จันทรบุรี

4. อำแดงปาน เกิดเมื่อปี พ.ศ.2409 ที่เมืองจันทรบุรี

5. นายตุ๋ย เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2411 ที่เมืองจันทรบุรี

2.5 การอพยพ ต่อมาในปลายปี พ.ศ.24154 พระยาสุนทรจีน (เจ้าคุณเจ๊ก) บิดาเสมียนเดชได้ถึงแก่กรรมอนิจกรรม เมื่อได้กระทำพิธีศพของบิดาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เสมียนเดชได้อพยพครอบครัวทั้งหมดจากมณฑลจันทรบูรณ์ (จังหวัดจันทรบุรีขณะนี้) ติดตามหลวงวิเศษ เจ้านายมาอยู่เมืองปลาสร้อย (จังหวัดชลบุรีขณะนี้) ประมาณปลายปี พ.ศ.2416 ณ บ้านในค่ายซอยกลป้อมค่ายในปัจจุบัน โดยเสมียนเดชคงรับราชการเป็นนายสังเลขหลวงเช่นเดิม

3. ผู้สืบเชื้อสายวงศ์ตระกูลต่อมา (บุตรหลานของเสมัยนเดช)

3.1 อำแดงจอน เป็นธิดาคนที่หนึ่งของเสมียนเดช เกิดเมื่อ พ.ศ.2403 ที่เมืองจันทรบุรี ภายหลังเสมียนเดช ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ ณ บ้านในค่ายซอยกลป้อมค่ายเมืองบางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรีแล้ว บุตรธิดาทั้ง 5 คน ได้เติมโตขึ้นตามลำดับ
อำแดงจอนได้แต่งงานกับนายอ่อนขาว (หรือหมื่นศรีอ่อนเจ๊ก) ซึ่งเป็นชาวกรุงเก่า ซึ่งอพยพมาอยู่ชลบุรี ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเสียพม่าข้าศึก โดยติดตามบิดามารดามาตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลนาป่า อำเภอบางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี เป็นนายแขวง(กำนัน) ตำบลนาป่า ซึ่งเดิมเรียกว่า “ร้านเจ๊กยี่ม่วยเก่า) ประกอบอาชีพทำนาทำไร่ มีเนื้อที่ประมาณ 93 ไร่เศษ แล้วภายหลังได้อพยพไปจับจองที่ดินบริเวณทุ่งนาอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่เศษ ซึ่งยังมีเนินทุ่งเลี้ยงสัตว์ เป็นชื่อเรียดติดปากชาวบ้านว่า “เนินตาอ่อนขาว” หรือเนินตาหมื่นศรี อยู่จนทุกวันนี้ และเป็นมรดกตกทอดมาถึงบุตรหลานทุกวันนี้

อำแดงจอนกับนายอ่อนขาว (หมื่นศรีอ่อนเจ๊ก) มีบุตรธิดารวม 5 คนคือ

1. นางผันเกิดประมาณปี พ.ศ.2418

2. นางเผื่อนเกิดประมาณปี พ.ศ.2419

3. นางผิง เกิดประมาณปี พ.ศ.2421

4. นางตาล เกิดประมาณปี พ.ศ.2423

5. นางลำใย เกิดประมาณปี พ.ศ.2425

3.1.1 นาง ผัน ธิดาที่หนึ่งของอำแดงจอนแต่งงานกับนายยอม (หมอยอม) มีบุตรธิดา 3 คนคือ (หลังสุดได้อพยพไปอยู่ที่จังหวัดนครปฐม)

3.1.1.1 นาง ปลั่ง (ถึงแก่กรรมแล้ว)

3.1.1.2 นาง ทรัพย์ แต่งงานกับนายแหลม ถึงแก่กรรมแล้ว) นางทรัพย์บวชชีอยู่ที่วัดใหญ่ ชลบุรี

3.1.1.3 นางสิน แต่งงานกับน่ายแหม นิตยกาญจน์ ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้วทั้งสองคน แต่มีบุตรธิดาอยู่ยังติดตามมี่พบกัน

3.1.2 นางเผื่อน ธิดาคนที่สอง ของอำแดงจอน แต่งงานกับนายพริ้ง สายสุวรรณ ชาวบ้านหนองจับอึ่ง ตำบลหนองตำลึง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีมีบุตรธิดารวม 5 คน ตามลำดับคือ

3.1.2.1 นายยอด สายสุวรรณ แต่งงานกับ นางทิม ชาวบางแพ ไม่มีบุตรธิดา มีธิดาบุญธรรมชื่อนางกาหลง และนางกาหลงมีบุตรบุญธรรมชื่อนายสมชาติ

3.1.2.2 นายผ่องสวัสดิ์ สายสุวรรณ (กำนันตำบลหนองตำลึง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี แต่งงานกับภรรยา 3 คน และมีบุตรธิดาดังนี้.-

3.1.2.2.1 นางเอ็งภรรยาคนที่หนึ่งมีธิดา 2 คน ชื่อ บุษยา (หญิง) และรัตนาภรณ์ (หญิง)

3.1.2.2.2 นางมาลัยภรรยาคนที่สอง มีธิดา 2 คน ชื่อ บุปผา (หญิง) และกัลป์ยานี (หญิง)

3.1.2.2.3 นางสง่าภรรยาคนที่สามมีบุตร 1 คน ชื่อทศพล

3.1.2.3 นายผึ่ง สายสุวรรณ แต่งงานกับนางชั้นมีธิดา 2 คน ชื่อนางอุไร (แต่งงานกับนายอำพล สายสุวรรณ) และนางอารีย์

3.1.2.4 นางทองเพียง แต่งงานกับนางก๊วย วิเชียรพงษ์ มีบุตรธิดารวม 5 คน ชื่อนายสมพงษ์, นางภิรมย์, นางเรณู, นายศรีณรงค์ และ นายกฤษณ์

3.1.2.5 นางละอองแต่งงานกับสามี 2 คน มีบุตรธิดาดังนี้.

3.1.2.5.1 นายถนอม หอมเสียง สามีคนที่หนึ่งมีธิดา 1 คนชื่อ นายอำนวย

3.1.2.5.2 นายนิตย์ สิงห์โตทอง (เปลี่ยนเป็นสายสวุวรรณแล้ว) มีบุตรธิดา 5 คน ชื่อโนรี (หญิง), ศรีณรงค์ (หญิง), องค์อร (หญิง) และคำรณ (ชาย)

3.1.3 นางผันธิดาคนที่สามของอำแดงจอน (ถึงแก่กรรมแล้ว – หลักฐานไม่มี)

3.1.4 นางตาลธิดาคนที่สี่ของอำแดงจอน แต่งงานกับนายพักตร์ รับราชการที่เมืองชลบุรี แล้วอพยพไปอยู่ที่จังหวัดนครปฐมและย้ายมาอยู่กรุงเทพมหานครภายหลังจนถึงแก่กรรม ณ ที่นั้นทั้งสองคน

3.1.5 นางลำไยธิดาคนที่ห้าของอำแดงจอน (ถึงแก่กรรมแล้ว – หลักฐานไม่มี)

3.2 อำแดงทองอยู่ เป็นธิดาคนที่สองของเสมียนเดชเกิดเมื่อ พ.ศ.2405 ที่เมืองจันทรบุรี ภายหลังอพยพมาอยู่ที่ชลบุรีแล้ว อำแดงทองอยู่ได้แต่งงานกับนายเตี้ย หังสสูต ชาวนครปฐม(นายเตี้ยเป็นบุตรร่วมบิดาเดีรยวกับพระยาพิพิธไอยสวรรค์ ซึ่งบิดา เป็นชาวเมืองตราด ต้นตระกูลหังสสูต) แล้วได้ติดตามสามีไปอยู่ที่จังหวัดนครปฐม และมีบุตรหลานอยู่ที่จังหวัดนครปฐม จนกระทั่งบัดนี้.

อำแดงทองอยู่กับนายเตี้ย หังสสูต มีบุตรธิดารวม 7 คน คือนางจีบ, นางเติม, นางเจิม, นางสงวน, นายปลั่ง, นายผล และนางถนอม

3.2.1 นางจีบธิดาคนที่หนึ่งของอำแดงทองอยู่ (ขณะนี้ถึงแก่กรรมแล้ว หลักฐานไม่มี

3.2.2 นางเติมธิดาคนที่สองของอำแดงทองอยู่ (ขณะนี้เสียชีวิตแล้ว หลักฐานไม่มี

3.2.3 นางเจิมธิดาคนที่สามของอำแดงทองอยู่ แต่งงานกับนายอิน (หมออิน) บ้านอยู่ตรอกขี้เถ้าใกล้ สี่แยกมหานาค อำเภอป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร (ขณะนี้ถึงแก่กรรมแล้ว หลักฐานมีเพียงเท่านี้)

3.2.4 นางสงวนธิดาคนที่สี่ของอำแดงทองอยู่แต่งงานกับคนในตระกูล “เวนานนท์” ขณะนี้อยู่ที่ตลาดบางเลน (ตลาดบน) อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม(ยังมีชีวิตอยู่ หลักฐามีเพียงเท่านี้)

3.2.5 นายปลั่ง หังสสูต บุตรคนที่ห้าของอำแดงทองอยู่ แต่งงานกับนางเรียมที่บ้านตลาดใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (ขณะนี้ถึงแก่กรรมแล้วทั้ง 2 คน) มีบุตรธิดารวม 9 คน คือ

3.2.5.1 นางเพิ่มสุขแต่งงานกับนายประยูร วีระวงศ์ ขณะนี้รับราชการเป็นศึกษาธิการีภาค 5 อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (หลักฐานมีเพียงเท่านี้)

3.2.5.2 นางสะอางค์ แต่งงานกับนายประจวบ สุวรรณวัฒน์ ขณะนี้อยู่บ้านเลขที่ 9 ริมคลองด่าน ตรอกสันติสุข ถนนเทิดไทย ตำบลบางคล้อ อำเภอลางขุนเทียน กรุงเทพฯ มีบุตรธิดาด้วย หลักฐานมีเพียงเท่านี้

3.2.5.3 - 4 เด็กชายจอกและเด็กชายแกละถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์

3.2.5.5 ร.ต.สุดใจ หังสสูต ถึงแก่กรรมแล้ว

3.2.5.6 เด็กหญิงอรุณ ถึงแก่กรรมแล้ว

3.2.5.7 นางพิศเสน่ห์แต่งงานกัยบนายสุคนธ์ ไตรภักดิ์ ขณะนี้รับราชการเป็นสรรพกรจังหวัด ที่อำเภอนราธิวาส (หลักฐานมีเพียงเท่านี้)

3.2.5.8 นางสุพรรณี หังสสูต ขณะนี้รับราชการที่กองคลัง สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพ

3.2.5.9 นายอุดม หังสสูต ขณะนี้รับราชการอยู่ที่สรรพสามิต อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

3.2.6 นายผล หังสสูต บุตรคนที่หกของอำแดงทองอยู่ ขณะนี้ครอบครัวอยู่ที่จังหวัดนครปฐม เป็นอาจารย์ใหญ่อยู่โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย มีธิดาคือ นางระพพรรณ ศุขโต (หลักฐานมีเพียงเท่านี้)

3.2.7 นางถนอม หังสสูต ธิดาคนที่เจ็ดของอำแดงทองอยู่ (ไม่ทราบว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่หลักฐานไม่มี)

3.3 อำแดงขอม เป็นธิดาคนที่สามของเสมียนเดช เกิดเมื่อ พ.ศ.2407 ที่เมืองจันทบุรี ภายหลังอพยพมาอยู่จังหวัดชลบุรี แล้วแต่งงาน แต่ไม่มีบุตรธิดาและถึงแก่กรรมแล้ว

3.4 อำแดงปาน เป็นธิดาคนที่สี่ของเสมียนเดช เกิดเมื่อปี พ.ศ.2409 ที่เมืองจันทรบุรี อพยพมาอยู่ที่จังหวัดชลบุรีแล้วได้แต่งาน แต่ไม่มีบุตรธิดาเลย และถึงแก่กรรมแล้ว

3.5 นายตุ๋ย เป็นบุตรคนที่ 5 คนสุดท้ายของเสมียนเดช เกิดเมื่อปี พ.ศ.2411 ที่เมืองจันทรบุรี ตอนอพยพตามบิดาเสมียนเดชมาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี มีอายุได้ 5 ขวบ (พ.ศ.2416)อยู่ ณ บ้านในค่ายซอยกลป้อมค่าย(ในปัจจุบัน) และนายตุ๋ยผู้นี้เป็นต้นตระกูล “วิจิตร” ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

 

คำปรารภของผู้รวบรวม

ตระกูล “วิจิตร”

 
 
Copyright © 2009 CKN Cyber Key Network All rights reserved